The entirely new matcha collection.
All-new grades categorized by uses.
Different firing levels,
different flavor tones.
A quantum leap
in quality.
Always
in stock.
Official partnership
with award-winning producers.
和 Peace ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตชาที่ชนะรางวัลประกวดหลายเจ้าจากหลายแหล่งเพาะปลูกในญี่ปุ่น ผู้ผลิตจะบดมัทฉะให้ตามประเภทและจำนวนเมื่อเรามีการสั่งซื้อเท่านั้น จนกว่าจะถึงเวลานั้นมัทฉะจะอยู่ในรูปของเท็นฉะ (tencha) ที่แช่อยู่ในอุณภูมิต่ำกว่า -40°C จึงทำให้มัทฉะมีความสดใหม่มากอยู่เสมอ... นอกจากนั้นแล้วการร่วมงานอย่างเป็นทางการในลักษณะนี้ยังมีผลทำให้เราได้ช่วยวางแผนการผลิตชาในปีถัดไป เราจึงได้รับการจัดสรรชาคุณภาพสูงที่มีผลผลิตปริมาณจำกัดมากในแต่ละปี ทำให้ซัพพลายมัทฉะของ 和 Peace มีอย่างต่อเนื่องและเพียงพอสำหรับความต้องการตลอดทั้งปี
All-new grades
house-blended
for different uses.
“มัทฉะที่ดีคือมัทฉะที่เหมาะกับงาน” เพื่อให้ได้มัทฉะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละการใช้งาน เราจึงสร้างระบบการเบลนด์มัทฉะของเราเองขึ้นมา แล้วทดสอบมัทฉะเป็นร้อยๆตัวจากผู้ผลิตชาที่ชนะรางวัลประกวดหลายเจ้าในญี่ปุ่น จากนั้นคัดเลือกจนเหลือไม่เกิน 20-30 ตัว เพื่อนำมาเป็นมัทฉะตั้งต้นสำหรับการเบลนด์ให้กลายเป็นเกรดที่แตกต่างกัน 6 เกรดโดยแบ่งแยกตามจุดประสงค์ในการใช้งาน... ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความชัดเจนและความสมดุลอย่างยิ่ง เพราะเรารู้ว่ามัทฉะแต่ละเกรดนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทำอะไร และเราสามารถเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของแต่ละโปรดักท์ที่เราต้องการทำได้อีกด้วย (มัทฉะทั้ง 6 เกรดเป็นการเบลนด์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สำหรับ 3 เกรดที่เคยมีอยู่แล้วเดิมก็ถูกเบลนด์ขึ้นมาใหม่จนพัฒนาไปไกลจากเดิมมาก)
“มัทฉะที่ดีคือมัทฉะที่เหมาะกับงาน”
ให้ไฟต่างกัน โทนรสชาติต่างกัน
ในการผลิตชาใดๆก็ตาม เรื่องที่เป็นองค์ประกอบสำคัญก็มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. Harvest ซึ่งหมายถึงวัตถุดิบตั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเพาะปลูก ลักษณะการปลูก สายพันธุ์ชา หรือการเก็บเกี่ยว 2. Fermentation คือการหมักชา และ 3. drying คือการให้ความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งและกำหนดระดับความสดและความคั่วของใบชา... ใน 3 องค์ประกอบนี้ สิ่งที่มีผลกระทบต่อผลลัพธ์ของการผลิตชามากที่สุดก็คือการหมักชา (Fermentation) เพราะขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนเดียวที่สามารถทำให้ใบชาสดไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็ตาม เปลี่ยนเป็นชาเขียว ชาขาว ชาเหลือง ชาอู่หลง ชาแดง หรือชาดำได้... แต่เพราะว่าชาเขียวญี่ปุ่นเป็นชาที่ไม่หมัก จึงทำให้ขั้นตอนที่มีผลอย่างมาก (เมื่อใช้กระบวนการผลิตอื่นๆเดียวกัน) ก็คือการให้ความร้อน (Steaming/Drying/Firing)
เมื่อใบชาสดผ่านการนึ่ง ถูกทำให้แห้ง ถูกตัดและคัดแยกจนเหลือแต่ส่วนเนื้อใบที่มีชื่อว่าเท็นฉะ (Tencha) แล้ว ก่อนจะนำไปบดเท็นฉะจะถูกนำไปให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่ง (Firing) เป็นรอบสุดท้าย เทคนิคในกระบวนการนี้เองเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มัทฉะของแต่ละผู้ผลิตมีโทนกลิ่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
การให้ไฟน้อย (Low Firing) ทำให้มัทฉะยังคงรักษาคุณลักษณะดั้งเดิมของวัตถุดิบตั้งต้น (Harvest) นั้นไว้ โทนของ Low-Firing Matcha จึงออกเป็นแนวเขียวสด มีคาแรคเตอร์เดิมของ Harvest ชัดเจน และมีความหวานชามากกว่า ยิ่งให้ไฟ (Firing) มากขึ้นๆ ก็จะยิ่งทำให้กลิ่นของวัตถุดิบตั้งต้นใดๆนั้นแปลงไปเป็นกลิ่นไฟในลักษณะกลิ่นคั่วมากขึ้นเรื่อยๆ และความหวานชาก็จะเปลี่ยนเป็นความมันมากขึ้นเรื่อยๆด้วย ดังนั้น Medium-Firing Matcha จึงมีสมดุลของความเขียวสดและกลิ่นคั่วอ่อนๆ แล้วยังมีความหวานชาและความมันอย่างพอดี ที่ให้ความรู้สึกเป็นกลาง สงบและนุ่มนวล ซึ่งเราจะพบได้มากในการทำมัทฉะสไตล์ดั้งเดิม ในขณะที่ High-Firing Matcha จะมีกลิ่นไฟในลักษณะโทนถั่วคั่วที่หอมฟุ้งชัดเจน และมีเนื้อสัมผัสที่มันกว่า
ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใบชาเขียวสดสายพันธุ์ไหนหรือจากแหล่งปลูกใดเลยที่ให้กลิ่นถั่วคั่วเองตามธรรมชาติโดยปราศจากการ Firing... เราสามารถเปรียบเทียบกระบวนการ Firing เหมือนการคั่วเมล็ดกาแฟ ที่ไม่ว่าเมล็ดกาแฟสดจะเป็นสายพันธุ์ไหนหรือปลูกจากแหล่งใดก็ตาม การนำมันมาคั่วอ่อน คั่วกลาง หรือคั่วแก่ก็จะสามารถทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญได้ยิ่งกว่าตัว Harvest เองซะอีก แน่นอนว่า Harvest มีความสำคัญมากเพราะวัตถุดิบตั้งต้นจะเป็นตัวกำหนดศักยภาพ ขีดจำกัด และรายละเอียดของผลลัพธ์ แต่โทนและ คาแรคเตอร์หลักๆที่ออกมาในลักษณะสดหรือคั่ว หวานชาหรือมันนั้น เกิดขึ้นเพราะกระบวนการ Firing